2023-02-BME301

    

BME301: Biomedical Engineering Research Laboratory II

Objectives:

  • วิชานี้ มีเป้าหมายเพื่อให้นิสิต "เริ่ม" ค้นหาหัวข้อ/ความชอบของตนเอง โดยมีอจ ช่วยกำกับดูแล มากกว่า lecture ให้นิสิตแบบปกติ การค้นหานั้นมีได้หลายรูปแบบทั้งการศึกษาจากตำรา papers หรือลงมือทดลองปฏิบัติ ขึ้นกับหัวข้อ
  • คณาจารย์ อาจมีการสอนเสริมตามความจำเป็น ซึ่งหัวข้ออาจแตกต่างกันแล้วแต่ว่านิสิตมี อจ ท่านใดกำกับดูแล
  • ในวิชานี้จะมีการสอนเสริมเพิ่มเติม skill ด้าน IT (MS word/excel) จำนวนประมาณ 5-6 ครั้ง (รอการยืนยันอีกครั้ง)
  • วิชา research methodology เป็นวิชาหนึ่งที่จะช่วยเสริมกระบวนคิดของนิสิตที่จะนำมาใช้ในวิชานี้
  • นิสิตจะต้องนำเสนอผลการเรียนรู้/ศึกษาให้กับคณาจารย์ฟัง ในลักษณะเดียวกับโปรเจค โดยเป็นตัวตัดเกรด โดยคะแนนอาจมีการเชื่อมโยงกับรายวิชา Research methodology ด้วยบางส่วน (ไม่ใช่ทั้งหมด) ทั้งนี้กำหนดการสอบ จะเริ่มตั้งแต่สอบหลังมิดเทอม หรือหมายถึงนิสิตมีเวลาประมาณ 2-3 เดือนในการลงมือทำ
ดังนั้น สิ่งที่นิสิตจะต้องดำเนินการทันทีคือ
  • นิสิตจะต้องหาอจ ที่ปรึกษาโครงการ (อาจเปลี่ยนภายหลังตอนปีสี่ก็ได้ แต่ไม่แนะนำ) เพื่อช่วยเหลือในการค้นหาหัวข้อและแนะแนวทาง หรือให้อจ lecture ให้
  • เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าของนิสิต ขอให้นิสิตส่งรายชื่อกลุ่ม ชื่ออจที่ปรึกษาโครงการ ชื่อโครงการ (เป็นข้อมูลเบื้องต้น สามารถเปลี่ยนได้ แต่พยายามให้ตรงกับเนื้อหาที่จะทำในเทอมนี้หรืออาจคาบเกี่ยวกับของปีสี่ก็ได้ (ให้ปรึกษาที่ปรึกษาโครงการ)) ขอให้ตัวแทนพวกเราซักคนช่วยรวบรวมมาให้ผมนะครับ
  • นิสิตที่มีปัญหาใดๆ ให้แยกระหว่าง ปัญหาที่ควรปรึกษากับ อจ ที่ปรึกษาชั้นปี อจ ที่ปรึกษาโครงการ และ อจ ที่รับผิดชอบรายวิชา (ผม) ด้วยนะครับ เพื่อ อจ จะได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้ แต่เบื้องต้นมาถามผมก่อนก็ได้ครับ
  • นิสิตที่มีหัวข้อแล้วควร "เริ่ม" ดำเนินการได้ทันทีนะครับ (ไม่จำเป็นต้องรอสอบหัวข้อ) ให้ตั้งเป้าว่าจะต้องสอบประมาณกลางเดือน มีค 

กำหนดการสำคัญ: 
  • ส่งชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หัวข้อที่ทำ ภายในวันที่  19 มกราคม 2566 ก่อนเวลา 12.00 น. ** โดยขอให้ระบุมาด้วยว่า ใครเป็นนิสิตสหกิต 
  • ส่งชื่อกรรมการสอบ ภายใน 1 มีนาคม 2567 ก่อน 12.00 น. (ก่อนเที่ยง)
  • สอบการเรียนรู้ (สอบหัวข้อ) 11-22 มีนาคม 2567 (หลังมิดเทอม)
  • สอบประมวลความรู้ 17-26 เมษายน 2567 (ก่อนไฟนอล หลังสงกรานต์)
อาจารย์ 1 ท่าน รับได้กี่กลุ่ม?:
  • ขณะนี้เรามีประจำ อจ 11 ท่าน 
  • อจ ภายนอกเป็นที่ปรึกษาเดี่ยวไม่ได้
  • สมมติว่ามีจำนวนกลุ่ม 23 กลุ่ม ดังนั้น อาจารย์แต่ละท่านรับเป็นที่ปรึกษาไม่เกินท่านละ 3 กลุ่ม (23/11 = 2.09, เผื่อ 30% = 2.72 ปัดขึ้น)  ** อย่างไรก็ดี จำนวน กลุ่มที่ยกตัวอย่างนี้ ไม่รวมนิสิตที่จะไปสหกิตครับ (เงื่อนไขนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต)
  • กรณี มีอาจารย์หลายท่าน ให้หารภาระเอาตรงๆ เลย เช่น อจ A,B เป็นที่ปรึกษาร่วม ก็ถือว่า อจ A และ B เป็นที่ปรึกษาเท่ากับ 0.5 กลุ่มครับ
  • อจ หลายท่านดูจำนวนนิสิตด้วยไม่ใช่ดูแค่จำนวนกลุ่ม ซึ่งอาจจำกัดอยู่ที่ 4 คนก็ได้ ซึ่งอาจรับเหลือได้แค่ 2 กลุ่ม (อันนี้ขึ้นกับ อจ ครับ ผมดูแต่จำนวนกลุ่มอย่างเดียว)
  • คำแนะนำในการหาอจ:
    • คุยว่า อจ แต่ละท่านทำอะไร (ใช้เวลานานอยู่ แนะนำว่าพยายามไปพร้อมกันหลายๆคน จะช่วยอจ ได้มากๆ ไม่ต้องอธิบายหลายครั้ง) .. เราอาจสนใจหัวข้อแล้ว แต่อจ ปกติอาจจะยังไม่รับ ดูเหตุผลข้อต่อไป
    • ถ้าเราสนใจ อจ อาจให้ลองไปอ่าน paper หรือให้ลองไปอ่านงานรุ่นพี่มาคุยก่อน เพื่อประเมินว่าเราสนจริงหรือเปล่า (เพราะแค่คุย มันยังไม่รู้รายละเอียด) แล้วให้ลองมาสรุปให้ฟัง (ใช้เวลานานกว่า)
    • หลังจากแน่ใจแล้วว่าจะทำกับ อจ ท่านนั้น ปกติ อจ จะเริ่มหาหัวข้อให้เรา ซึ่งขึ้นกับอจ หรือขึ้นกับหัวข้อที่พวกเรานำเสนอก็ได้ ขั้นตอนนี้อาจช้าเข้าไปอีกหากต้องเกี่ยวกับหน่วยงานภายนอก
    • หลังจากที่ อจ ได้หัวข้อแล้ว ก็จะลองคุยกับพวกเราอีกทีว่าโอเคหรือเปล่า .. ใครยังไม่ถึงขั้นตอนนี้ถือว่า อจ ยังไม่รับนะครับ ไม่ใช่บอกว่า หนูจะทำกับ อจ แล้ว ตั้งแต่ขึ้นตอนที่ 1-3 ก็จบนะ
    • ถ้าโอเคทั้งหมดถึงจะรับเป็นทางการ ทั้งหมดนี้ควรเสร็จก่อนเปิดเทอมสอง 
    • ใครคิดจะเปลี่ยนหัวข้อ เปลี่ยน อจ ทำได้ครับ แต่ต้องรีบทำ และกรณีที่รับปากอจ ไปแล้วพร้อมกันหลายคน ขอให้แจ้ง อจ ด้วยนะครับว่าเลือกท่านไหน ไม่ใช่เงียบไป มันเสียมารยาทมากๆ ครับ
    • การเข้าไปพังการสอบของรุ่นพี่ จะช่วยให้เข้าใจงานได้มากครับ
    • นิสิตสหกิต ควรเลือก อจ ที่เป็นอจ สหกิตได้เป็นที่ปรึกษาครับ

การกำหนดอาจารย์ผู้สอบและตารางสอบ :
  • ให้นิสิตตรวจเวลาที่อาจารย์สะดวกดัง link (ตัวอย่าง) นี้ 
  • ให้นิสิตสำรวจเวลาที่สะดวกและส่งให้ผมภาย 1 มีนาคม 2566
  • ตารางสอบครั้งที่ 1 (ตัวอย่าง ให้ปรับเป็นอย่างน้อย 45 นาทีต่อกลุ่ม)
  • ตารางสอบครั้งที่ 2 (ตัวอย่าง ให้ปรับเป็นอย่างน้อย 45 นาทีต่อกลุ่ม)
  • การสอบสามารถแยกสอบเป็นหลายห้องพร้อมกันได้ "ถ้า" มั่นใจว่าความล่าช้าในการสอบจะไม่มีกระทบต่ออีกห้อง (กรณีที่อาจารย์คนหนึ่ง มีคิวสอบทั้งสองห้องในเวลาที่ใกล้เคียงกัน) ** ทั้งนี้ให้ตรวจสอบและขออนุญาต อจ ตั๊กเพื่อสอบพร้อมกันก่อน (ดูเหตุผลข้อสุดท้าย)
  • ทั้งนี้นั้นในส่วนของการสอบประมวลความรู้ (สอบครั้งที่ 2) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ขอให้จัดมาก่อน คณาจารย์จะพยายามเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุดครับ
  • นิสิตจะต้องมารอสอบ ไม่ใช่ว่าถึงกำหนดแล้วค่อยให้เพื่อนมาตามนะครับ
  • สถานที่สอบจะแจ้งอีกทีหนึ่ง หรือให้สอบถามกับกรรมการผู้สอบ
  • การสอบสามารถให้รุ่นน้องมาฟังได้นะครับ
  • การกำหนดอาจารย์ผู้สอบ
    • ให้มีอาจารย์ผู้สอบอย่างน้อย 3 คน รวมที่ปรึกษา (อาจารย์ที่ปรึกษาหลายคน นับเป็น 1 นะครับ และไม่นับอาจารย์ภายนอก)
    • นิสิตไม่ใช่เป็นผู้เลือกอาจารย์ผู้สอบ แต่ให้ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าอาจารย์ท่านใดเหมาะกับงานของเรา คำแนะนำ ท่านแรกควรเป็นผู้ที่พออยู่ใน field ส่วนท่านที่สองอาจเป็นภายนอก field หรือไม่ก็ได้ เพื่อจะได้คำแนะนำในมุมที่แตกต่างกัน
    • สมมติว่ามีจำนวนกลุ่มรวม 23 กลุ่ม (รวมนิสิตสหกิตแล้ว) ดังนั้น อาจารย์แต่ละท่านควรมีภาระสอบไม่เกินท่านละ 9 กลุ่ม (23x3/11 = 6.27, เผื่อ 30% = 8.15 ปัดขึ้น) (รวมกลุ่มที่ อจ เป็นที่ปรึกษาแล้ว ดังนั้นอาจารย์ใดมีที่ปรึกษาเยอะต้องสอบกลุ่มเพิ่มน้อยครับ) 
    • นิสิตสหกิจ ไม่มีความพิเศษใดๆ ในการสอบนะครับ
  • อนึ่ง เนื่องจากการสอบมีความข้องเกี่ยวกับการเรียนการสอนในรายวิชา research ด้วย ซึ่งการประเมินความสำเร็จจะมีความละเอียดมากกว่า ในส่วนของการสอบของ อจ ตั๊ก หรือ อจ ตั๊กเป็นอาจารย์ผู้สอบ ให้นิสิตติดต่อกับ อจ ตั๊กโดยตรงเพื่อหาเวลาสอบที่เหมาะสมอีกทีหนึ่ง (อาจเป็นการสอบตามตาราง หรือการสอบนอกตารางก็ได้) เอกสารกำหนดการณ์ใดๆ ขอให้ส่งให้ อจ ตั๊กด้วย (ถ้าจะให้ผมส่งให้ ให้แจ้งมาด้วยครับ)
  • สืบเนื่องจากข้อก่อน อจ ตั๊กจึงนับเป็น อจ ผู้สอบที่จะสามารถเข้าสอบในทุกกลุ่มได้ด้วยนะครับ
เอกสารที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอผลงาน : 
  • สำหรับการสอบการเรียนรู้ (สอบหัวข้อ) ให้ส่งเอกสารข้อเสนอโครงการให้กับอาจารย์ผู้สอบทุกคนก่อน 1 สัปดาห์ รูปแบบไม่ได้จำกัดขึ้นกับงาน 
  • สำหรับการสอบประมวลความรู้ ให้นิสิตทำรายงานสรุปส่ง และสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการไป ให้กับอาจารย์ผู้สอบทุกคนก่อน 1 สัปดาห์ รูปแบบไม่ได้จำกัดขึ้นกับงาน สำหรับสรุปการดำเนินการอาจเป็นสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการไปประมาณ 1 แผ่นก็น่าจะเพียงพอ ขอให้ปรึกษากับที่ปรึกษาครับ
  • ในเอกสารทุกส่วนควรระบุ 1) ปัญหาที่กำลังจะแก้ไข (หรือแนวคิดของนวัตกรรม) 2) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 3)  วิธีการวัดผลความสำเร็จ 4) สรุปสิ่งที่พบและสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป พร้อมเอกสารอ้างอิง 
  • ในวันสอบ ขอให้นิสิตพิมพ์ handout ของ powerpoint แบบ 6 หน้าต่อแผ่นมาให้กรรมการผู้สอบด้วยทุกคน
  • สำหรับแบบฟอร์มการประเมิน เนื่องจากเนื้อหาการสอบขึ้นกับหัวข้อ แบบฟอร์มการประเมินในครั้งที่ 1 (สอบการเรียนรู้ (สอบหัวข้อ)) จะไม่มี ผลการสอบจะมีเพียงผ่านและไม่ผ่าน (หากไม่ผ่านต้องสอบใหม่) ให้ใช้แบบฟอร์มดังนี่ link แต่ครั้งที่สอง ให้ใช้แบบฟอร์มดังนี้ link ให้กรอกชื่อกลุ่ม ชื่อนิสิต ชื่องาน ชื่ออาจารย์มาให้เรียบร้อย
  • การนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ห้ามอ่านโพย (หรือถ้าจำเป็น ให้น้อยที่สุด)
  • เวลานำเสนอประมาณ 10-15 นาทีและถามตอบอีกประมาณ 30-45 นาที เวลาอาจเกินได้ขึ้นกับงานของนิสิตเอง (หรืออจ อาจให้ตกเลย เนื่องจากใช้เวลาเกินก็ได้) การจัดเวลาขอให้เผื่อไว้อย่างน้อย 45 นาทีในการสอบแต่ละกลุ่ม 
  • ** เอกสารข้างต้น สำหรับใช้ในรายวิชา 301 แต่ไม่ใช่สำหรับในรายวิชา research ที่จะมีการตรวจสอบที่ละเอียดกว่า ขอให้นิสิตตรวจสอบกับ อจ ตั๊กอีกทีหนึ่งด้วยนะครับ (ผมขออนุญาตชี้แจงในส่วนของรายวิชา 301 เท่านั้น)
เอกสารประกอบการเรียน MS Word, MS Excel

Last update: 5th Apr 2024 12:39




Popular posts from this blog