2024-02-BME390

     

BME390: Ethics and Pre-Research Project in Biomedical Engineering

ประกาศ:

Objectives:

  • วิชานี้ มีเป้าหมายเพื่อให้นิสิต "เริ่ม" ค้นหาหัวข้อ/ความชอบของตนเอง โดยมีอจ ช่วยกำกับดูแล มากกว่า lecture ให้นิสิตแบบปกติ การค้นหานั้นมีได้หลายรูปแบบทั้งการศึกษาจากตำรา papers หรือลงมือทดลองปฏิบัติ ขึ้นกับหัวข้อ
  • คณาจารย์ อาจมีการสอนเสริมตามความจำเป็น ซึ่งหัวข้ออาจแตกต่างกันแล้วแต่ว่านิสิตมี อจ ท่านใดกำกับดูแล
  • วิชา research methodology เป็นวิชาหนึ่งที่จะช่วยเสริมกระบวนคิดของนิสิตที่จะนำมาใช้ในวิชานี้
  • นิสิตจะต้องนำเสนอผลการเรียนรู้/ศึกษาให้กับคณาจารย์ฟัง ในลักษณะเดียวกับโปรเจค โดยเป็นตัวตัดเกรด โดยคะแนนอาจมีการเชื่อมโยงกับรายวิชา Research methodology ด้วยบางส่วน (ไม่ใช่ทั้งหมด) ทั้งนี้กำหนดการสอบ จะเริ่มตั้งแต่สอบหลังมิดเทอม หรือหมายถึงนิสิตมีเวลาประมาณ 2-3 เดือนในการลงมือทำ
  • ** นิสิตจะต้องศึกษาด้วยตัวเอง การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และส่งใบประกาศให้กับ รศ ดร. ทวีชัย ภายในเวลาที่กำหนด (20 คะแนน)
ดังนั้น สิ่งที่นิสิตจะต้องดำเนินการทันทีคือ
  • นิสิตจะต้องหาอจ ที่ปรึกษาโครงการ (อาจเปลี่ยนภายหลังตอนปีสี่ก็ได้ แต่ไม่แนะนำ) เพื่อช่วยเหลือในการค้นหาหัวข้อและแนะแนวทาง หรือให้อจ lecture ให้
  • เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าของนิสิต ขอให้นิสิตส่งรายชื่อกลุ่ม ชื่ออจที่ปรึกษาโครงการ ชื่อโครงการ (เป็นข้อมูลเบื้องต้น สามารถเปลี่ยนได้ แต่พยายามให้ตรงกับเนื้อหาที่จะทำในเทอมนี้หรืออาจคาบเกี่ยวกับของปีสี่ก็ได้ (ให้ปรึกษาที่ปรึกษาโครงการ)) ขอให้ตัวแทนพวกเราซักคนช่วยรวบรวมมาให้ผมนะครับ
  • นิสิตที่มีปัญหาใดๆ ให้แยกระหว่าง ปัญหาที่ควรปรึกษากับ อจ ที่ปรึกษาชั้นปี อจ ที่ปรึกษาโครงการ และ อจ ที่รับผิดชอบรายวิชา (ผม) ด้วยนะครับ เพื่อ อจ จะได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้ แต่เบื้องต้นมาถามผมก่อนก็ได้ครับ
  • นิสิตที่มีหัวข้อแล้วควร "เริ่ม" ดำเนินการได้ทันทีนะครับ (ไม่จำเป็นต้องรอสอบหัวข้อ) ให้ตั้งเป้าว่าจะต้องสอบประมาณกลางเดือน มีค 

ข้อควรทราบสำหรับนิสิตสหกิจ 
  • นิสิตสหกิจไม่จำเป็นต้องลงวิชา BME390 ดังนั้นเกณฑ์การประเมินของวิชา BME390 นี้ ไม่มีผลใดๆ กับนิสิตสหกิจ
  • แต่นิสิตสหกิจยังจำเป็นต้องลงวิชา BME371 Research Methodology in Engineering ซึ่งเป็นลักษณะการทำโปรเจคเหมือนกับวิชา BME390 และรูปแบบการสอบเก็บคะแนนของวิชา BME371 ก็ใช้รูปแบบการสอบ (มีการสอบ 2 ครั้ง มีกรรมการสอบ) เหมือนกันกับวิชา BME390 (แต่รูปแบบการให้คะแนนอาจมีส่วนที่ไม่เหมือนกัน)
  • นิสิตสหกิจจำเป็นต้องลงวิชา BME489 Pre-Cooperative Education เพิ่มเติมด้วย 
  • ดังนั้น 
    • นิสิตปกติ การทำโปรเจค ผลงานจะถูกนำไปออกเกรดกับวิชา BME390 และ BME371
    • นิสิตสหกิจ การทำโปรเจค ผลงานจะถูกนำไปออกเกรดกับวิชา BME371 และ BME489


การออกเกรด ในการทำมินิโปรเจค  
  • นิสิตปกติ
    • BME390 คนให้เกรดคือที่ปรึกษา และ รศ ดร ทวีชัย (ผู้ดูแลวิชาและตรวจใบจริยธรรม)
    • BME371 คนให้เกรดคือ ผศ ดร อัมราพร (ผู้สอน)
  • นิสิตสหกิจ
    • BME371 คนให้เกรดคือ ผศ ดร อัมราพร (ผู้สอน) 
    • BME489 คนให้เกรดคือผู้สอน และที่ปรึกษา ( ผศ ดร อัมราพร  เป็นผู้ดูแลวิชา)
    เกณฑ์การให้เกรดวิชา BME490
  •    ส่วนที่ 1 20 คะแนน อิงจากการดำเนินการขอใบรับรองจริยธรรมการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ (โดย อจ ทวีชัย)
  •    ส่วนที่ 2 80 คะแนน อิงจากที่ปรึกษา โดยนำผลจากคณะกรรมสอบมาประกอบการให้คะแนน (รวบรวมโดย อจ ทวีชัย)
  • A : >= 80, B+ >= 75, B >=70, C+ >= 65, C >= 60, D+ > 55, D>= 50, E < 50 


กำหนดการสำคัญ: 
  • ส่งชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หัวข้อที่ทำ ภายในวันที่  10 มกราคม 2568 ก่อนเวลา 12.00 น. ** โดยขอให้ระบุมาด้วยว่า ใครเป็นนิสิตสหกิจ 
  • ส่งชื่อกรรมการอบคนที่ 1 ภายใน 24 กุมภาพันธ์ 2568 ก่อน 12.00 น. (ก่อนเที่ยง) 
  • สอบการเรียนรู้ (สอบหัวข้อ) 10-14 มีนาคม 2568 (หลังมิดเทอม) 
  • สอบประมวลความรู้ 7-11 เมษายน 2568 (ก่อนไฟนอล ก่อนสงกรานต์) (วันที่ 7 เป็นวันหยุด)
  • กำหนดส่งใบประกาศจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์  20 เมษายน 2568 (ก่อนไฟนอล หลังสงกรานต์) 

อาจารย์ 1 ท่าน รับได้กี่กลุ่ม?:
  • อ้างอิงที่ประชุมภาควิชาวันที่ 17 กันยายน 2567 
  • สำหรับนิสิตแผนสหกิจศึกษา
    • ให้นิสิตตรวจสอบรายชื่อ อจ ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาสหกิจได้ก่อน
    • ติดต่อสถานที่ฝึกงานเบื้องต้นก่อน กับที่ปรึกษา
    • ส่งเอกสารยืนยันแผนการเรียนและแต่งตั้งที่ปรึกษาสหกิจ อจ ที่เป็นที่ปรึกษาสามารถรับได้ไม่จำกัดคน
    • นิสิตกลุ่มสหกิจควรแต่งตั้งให้เร็วที่สุด เพราะจะเกี่ยวข้องกับโควตาอาจารย์ของนิสิตแผนปกติ
  • สำหรับนิสิตแผนปกติ (ทำโปรเจค)
    • นิสิตถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม ก (กลุ่มรับแล้ว) กลุ่ม ข (กลุ่มสำรอง) การพิจารณาว่านิสิตอยู่ในกลุ่มไหน ขึ้นกับลำดับการยื่นเอกสารแต่งตั้ง
    • โควตากลุ่ม ก ของ อจ แต่ท่าน ให้คำนวณจาก (จำนวนนิสิตทั้งหมด - จำนวนนิสิตสหกิจ) / (จำนวน อจ) แล้วปัดเศษขึ้น
    • โควตากลุ่ม ข ให้คำนวณจาก  30% * (จำนวนนิสิตทั้งหมด - จำนวนนิสิตสหกิจ) / (จำนวน อจ) แล้วปัดเศษขึ้น
    • อนึ่ง อจ แต่ละท่านไม่จำเป็นต้องรับตามโควตา (อาจน้อยกว่า) แต่อจ แต่ละท่านจะต้องมีที่ปรึกษาแผนปกติอย่างน้อย 1 คน
    • นิสิตที่เปลี่ยนภายหลังจากที่ยืนยันแล้ว (หรือ อจ ที่ปรึกษาปฏิเสธภายหลัง) จะถูกปัดให้อยู่กลุ่ม ค คือกลุ่มที่รอจัด นิสิตกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิเลือก อจ โดยอิสระ แต่ภาคจะกำหนดชื่อ อจ ที่เลือกได้ให้ ภายหลังจากที่ทุกคนส่งยืนยันที่ปรึกษาแล้ว


  • อจ ภายนอกเป็นที่ปรึกษาเดี่ยวไม่ได้
  • ขณะนี้เรามีประจำ อจ 11 ท่าน 
  • สมมติว่ามีจำนวนนิสิต 50 คน ไปสหกิจ 3 คน ดังนั้น อาจารย์แต่ละท่านรับเป็นที่ปรึกษากลุ่ม ก ได้ไม่เกินท่านละ 5 คน ((50-3)/11 = 4.27 (ปัดขึ้น),  และกลุ่ม ข ได้ 2 คน 30%x4.27 = (1.28 ปัดขึ้น)  ** อจ บางท่าน อจ อาจจะดูจำนวนกลุ่มประกอบ เช่น แม้รับได้รวม 7 คน แต่ อจ อาจจำกัดเพียง 3 กลุ่ม (3 หัวข้อ) ดังนั้นก็ต้องมีการรวมกลุ่ม
  • กรณี มีอาจารย์หลายท่านเป็นที่ปรึกษา ให้หารภาระเอาตรงๆ เลย เช่น อจ A,B เป็นที่ปรึกษาร่วม ก็ถือว่า อจ A และ B เป็นที่ปรึกษาเท่ากับ 0.5 กลุ่มครับ
  • ต้องส่งเอกสารแต่งตั้งที่ปรึกษา  (link) เป็นการยืนยันทุกครั้ง ในเอกสารแต่งตั้งจำเป็นต้องมีการกำหนดลักษณะงานที่จะทำด้วย (เป็นหัวข้อเบื้องต้นได้ สามารถเปลี่ยนได้ในภายหลัง)
  • คำแนะนำในการหาอจ:
    • คุยว่า อจ แต่ละท่านทำอะไร (ใช้เวลานานอยู่ แนะนำว่าพยายามไปพร้อมกันหลายๆคน จะช่วยอจ ได้มากๆ ไม่ต้องอธิบายหลายครั้ง) .. เราอาจสนใจหัวข้อแล้ว แต่อจ ปกติอาจจะยังไม่รับ ดูเหตุผลข้อต่อไป
    • ถ้าเราสนใจ อจ อาจให้ลองไปอ่าน paper หรือให้ลองไปอ่านงานรุ่นพี่มาคุยก่อน เพื่อประเมินว่าเราสนจริงหรือเปล่า (เพราะแค่คุย มันยังไม่รู้รายละเอียด) แล้วให้ลองมาสรุปให้ฟัง (ใช้เวลานานกว่า)
    • หลังจากแน่ใจแล้วว่าจะทำกับ อจ ท่านนั้น ปกติ อจ จะเริ่มหาหัวข้อให้เรา ซึ่งขึ้นกับอจ หรือขึ้นกับหัวข้อที่พวกเรานำเสนอก็ได้ ขั้นตอนนี้อาจช้าเข้าไปอีกหากต้องเกี่ยวกับหน่วยงานภายนอก
    • หลังจากที่ อจ ได้หัวข้อแล้ว ก็จะลองคุยกับพวกเราอีกทีว่าโอเคหรือเปล่า .. อจ ถึงจะลงนามในเอกสารแต่งตั้ง
    • ถ้าโอเคทั้งหมดถึงจะรับเป็นทางการ ทั้งหมดนี้ควรเสร็จก่อนสัปดาห์แรกของเทอมสอง 
    • ใครคิดจะเปลี่ยนหัวข้อ เปลี่ยน อจ ตอนที่ยังไม่แต่งตั้ง ทำได้ครับ แต่ต้องรีบทำ และกรณีที่รับปากอจ ไปแล้วพร้อมกันหลายคน ขอให้แจ้ง อจ ด้วยนะครับว่าเลือกท่านไหน ไม่ใช่เงียบไป มันเสียมารยาทมากๆ ครับ เอกสารแต่งตั้งทางการจะเป็นตัวยืนยัน
    • การเข้าไปพังการสอบของรุ่นพี่ จะช่วยให้เข้าใจงานได้มากครับ

การกำหนดอาจารย์ผู้สอบ
  • ให้มีอาจารย์ผู้สอบอย่างน้อย 3 คน รวมที่ปรึกษา (อาจารย์ที่ปรึกษาหลายคน นับเป็น 1 นะครับ และไม่นับอาจารย์ภายนอก)
  • การกำหนดอาจารย์ผู้สอบ ให้ใช้แบบใหม่ดังต่อไปนี้
    • อาจารย์สอบ (ที่ไม่ใช่ที่ปรึกษา) ท่านแรก ให้นิสิตเลือกกับที่ปรึกษา
    • อาจารย์สอบ (ที่ไม่ใช่ที่ปรึกษา) ท่านที่สอง ทางภาควิชาจะสุ่มให้ นิสิตและที่ปรึกษาไม่มีสิทธิ์เลือกเอง 
    • อาจารย์แต่ละท่าน จะมีภาระสอบเท่ากับ จำนวนกลุ่มของนิสิต (รวมนิสิตสหกิตแล้ว) x 3/ จำนวนอาจารย์ (ปัดเศษขึ้น) เท่านั้น 
    • สมมติว่ามีจำนวนกลุ่มรวม 31 (27+4) กลุ่ม (รวมนิสิตสหกิตแล้ว) ดังนั้น อาจารย์แต่ละท่านควรมีภาระสอบไม่เกินท่านละ 9 กลุ่ม (31x3/11 = 8.45 ปัดขึ้น) (รวมการสอบของกลุ่มที่ อจ เป็นที่ปรึกษาเองด้วย ดังนั้นอาจารย์ใดมีที่ปรึกษาเยอะต้องสอบกลุ่มเพิ่มน้อยครับ) 
    • นิสิตสหกิจ ไม่มีความพิเศษใดๆ ในการสอบนะครับ
    • การสุ่มเลือกอจ ท่านที่สอง จะดำเนินการหลังจากส่งชื่อ อจ ที่ปรึกษาท่านแรกครบทุกคนแล้ว โดยอาจใช้โปรแกรมสุ่มหรือใช้การจับฉลากเป็นหลัก (ไม่มีการล็อกชื่ออาจารย์) 
    • การสอบ จะจัดให้มีสัปดาห์สอบโดยเฉพาะ ซึ่งจะงดการเรียนการสอนของภาคทั้งสัปดาห์ 
ตารางสอบ :
  • ให้นิสิตตรวจเวลาที่อาจารย์สะดวกดัง link (ตัวอย่าง) นี้   (รอปรับปรุง)
  • ให้นิสิตสำรวจเวลาที่สะดวกและส่งให้ผมภาย 1 มีนาคม 2566  (รอปรับปรุง)
  • ตารางสอบครั้งที่ 1 (ตัวอย่าง ให้ปรับเป็นอย่างน้อย 45 นาทีต่อกลุ่ม)  (รอปรับปรุง)
  • ตารางสอบครั้งที่ 2 (ตัวอย่าง ให้ปรับเป็นอย่างน้อย 45 นาทีต่อกลุ่ม)  (รอปรับปรุง)
  • การสอบสามารถแยกสอบเป็นหลายห้องพร้อมกันได้ "ถ้า" มั่นใจว่าความล่าช้าในการสอบจะไม่มีกระทบต่ออีกห้อง (กรณีที่อาจารย์คนหนึ่ง มีคิวสอบทั้งสองห้องในเวลาที่ใกล้เคียงกัน) ** ทั้งนี้ให้ตรวจสอบและขออนุญาต อจ ตั๊กเพื่อสอบพร้อมกันก่อน (ดูเหตุผลข้อสุดท้าย)
  • ทั้งนี้นั้นในส่วนของการสอบประมวลความรู้ (สอบครั้งที่ 2) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ขอให้จัดมาก่อน คณาจารย์จะพยายามเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุดครับ
  • นิสิตจะต้องมารอสอบ ไม่ใช่ว่าถึงกำหนดแล้วค่อยให้เพื่อนมาตามนะครับ
  • สถานที่สอบจะแจ้งอีกทีหนึ่ง หรือให้สอบถามกับกรรมการผู้สอบ
  • การสอบสามารถให้รุ่นน้องมาฟังได้นะครับ
  • อนึ่ง เนื่องจากการสอบมีความข้องเกี่ยวกับการเรียนการสอนในรายวิชา research ด้วย ซึ่งการประเมินความสำเร็จจะมีความละเอียดมากกว่า ในส่วนของการสอบของ อจ ตั๊ก หรือ อจ ตั๊กเป็นอาจารย์ผู้สอบ ให้นิสิตติดต่อกับ อจ ตั๊กโดยตรงเพื่อหาเวลาสอบที่เหมาะสมอีกทีหนึ่ง (อาจเป็นการสอบตามตาราง หรือการสอบนอกตารางก็ได้) เอกสารกำหนดการณ์ใดๆ ขอให้ส่งให้ อจ ตั๊กด้วย (ถ้าจะให้ผมส่งให้ ให้แจ้งมาด้วยครับ)
  • สืบเนื่องจากข้อก่อน อจ ตั๊กจึงนับเป็น อจ ผู้สอบที่จะสามารถเข้าสอบในทุกกลุ่มได้ด้วยนะครับ
เอกสารที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอผลงาน : 
  • สำหรับการสอบการเรียนรู้ (สอบหัวข้อ) ให้ส่งเอกสารข้อเสนอโครงการให้กับอาจารย์ผู้สอบทุกคนก่อน 1 สัปดาห์ รูปแบบไม่ได้จำกัดขึ้นกับงาน 
  • สำหรับการสอบประมวลความรู้ ให้นิสิตทำรายงานสรุปส่ง และสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการไป ให้กับอาจารย์ผู้สอบทุกคนก่อน 1 สัปดาห์ รูปแบบไม่ได้จำกัดขึ้นกับงาน สำหรับสรุปการดำเนินการอาจเป็นสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการไปประมาณ 1 แผ่นก็น่าจะเพียงพอ ขอให้ปรึกษากับที่ปรึกษาครับ
  • ในเอกสารทุกส่วนควรระบุ 1) ปัญหาที่กำลังจะแก้ไข (หรือแนวคิดของนวัตกรรม) 2) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 3)  วิธีการวัดผลความสำเร็จ 4) สรุปสิ่งที่พบและสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป พร้อมเอกสารอ้างอิง 
  • ในวันสอบ ขอให้นิสิตพิมพ์ handout ของ powerpoint แบบ 6 หน้าต่อแผ่นมาให้กรรมการผู้สอบด้วยทุกคน
  • สำหรับแบบฟอร์มการประเมิน เนื่องจากเนื้อหาการสอบขึ้นกับหัวข้อ แบบฟอร์มการประเมินในครั้งที่ 1 (สอบการเรียนรู้ (สอบหัวข้อ)) จะไม่มี ผลการสอบจะมีเพียงผ่านและไม่ผ่าน (หากไม่ผ่านต้องสอบใหม่) ให้ใช้แบบฟอร์มดังนี่ link แต่ครั้งที่สอง ให้ใช้แบบฟอร์มดังนี้ link ให้กรอกชื่อกลุ่ม ชื่อนิสิต ชื่องาน ชื่ออาจารย์มาให้เรียบร้อย
  • การนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ห้ามอ่านโพย (หรือถ้าจำเป็น ให้น้อยที่สุด)
  • เวลานำเสนอประมาณ 10-15 นาทีและถามตอบอีกประมาณ 30-45 นาที เวลาอาจเกินได้ขึ้นกับงานของนิสิตเอง (หรืออจ อาจให้ตกเลย เนื่องจากใช้เวลาเกินก็ได้) การจัดเวลาขอให้เผื่อไว้อย่างน้อย 45 นาทีในการสอบแต่ละกลุ่ม 
  • ** เอกสารข้างต้น สำหรับใช้ในรายวิชา 301 แต่ไม่ใช่สำหรับในรายวิชา research ที่จะมีการตรวจสอบที่ละเอียดกว่า ขอให้นิสิตตรวจสอบกับ อจ ตั๊กอีกทีหนึ่งด้วยนะครับ (ผมขออนุญาตชี้แจงในส่วนของรายวิชา 301 เท่านั้น)
เอกสารประกอบการเรียน MS Word, MS Excel (BME301)

Last update: ุ17th Mar 2025 21:00




Popular posts from this blog